วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมามะพร้าวแก้ว






มะพร้าว....พารวย

มะพร้าวเป็นไม้ผลที่มีอยู่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศสามารถกินได้ทั้งมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าว มะพร้าวแก่ กะทิ ....แต่ที่บ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคานแปรรูปมะพร้าวเป็น มะพร้าวแก้วโดย...กลุ่มอาชีพสตรี
พ.ศ. 257 สตรีอาสาบ้านน้อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อจะแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว จึงได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยให้มาฝึกอบรม และฝึกสอนวิธีการทำขนมต่างๆ การทำมะพร้าวแก้ว เพื่อนำไปจำหน่ายที่แก่งคุดคู้ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาชีพการทำมะพร้าวแก้วจึงได้ ขยายวงไปอย่างกว้างขวางและพัฒนาจากการทำเป็นฝอยๆเป็นแผ่นแต่การประกอบอาชีพดังกล่าวยังเป็นการประกอบอาชีพ ต่างคนต่างทำ ไม่ดำเนินการในรูปกลุ่ม
กลุ่มสตรีแปรรูปมะพร้าวแก้ว
นางปราณี แก่นสียา เล่าว่า พ.ศ. 2536 การค้าขายที่ต่างคนต่างทำทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบและการตั้งราคาก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงคานและสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงคาน ได้มาจัดตั้งกลุ่มและฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะให้แก่กลุ่มสตรีในด้านการรวมกลุ่ม การกำหนดกฎกติกา การตั้งคณะกรรมการบริหาร การแสวงหาทุน การจัดทำบัญชี ตลอดจนศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ กลุ่มกล้วยอบน้ำผึ้ง อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ...สมาชิกเริ่มก่อตั้ง 33 คนลงหุ้นเริ่มแรกคนละ 500 บาท เป็นเงิน 16,500 บาท ต่อมาสมาชิกบางส่วนได้ขอลาออกเหลือสมาชิก 16 คน ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนสนับสนุนทุน 36,000 บาท กลุ่มได้เช่าที่ทำการกลุ่มมาแต่เริ่มต้นไม่สะดวกในการดำเนินการจึงรวมทุนจากกำไรสุทธิตั้งแต่เริ่มต้น 90,000 บาทระดมทุนจากสมาชิก 16 คนๆละ3,750 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท ซื้อที่ดิน 1 งาน 26 ตารางวา ราคา 150,000 บาท เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มต่อไป 2539 กรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนงบสร้างศูนย์สาธิตการตลาด 400,000 บาทปี 2543ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนเป็นปัจจัยการผลิต 200,000 บาท 2544 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสนับสนุนทุนปัจจัยการผลิต 80,000 บาท สินเชื่อจาก ธกส. 150,000 บาท

ปัจจุบันกลุ่มสตรีมะพร้าวแก้วบ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น มะพร้าวแก้ว กล้วยอบเนย กล้วยทอด กล้วยฉาบ วุ้นมะพร้าว ขนมทองพับ มะขามคลุก/สามรส และน้ำผลไม้ตามฤดูกาลการพัฒนาการผลิต......สู่การตลาด
ระบบการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์ต้องมีการพัฒนาและการบรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการพัฒนา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีหลากหลาย ตามฤดูกาลของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นทรัพยากรของท้องถิ่น กลุ่มได้มีการปรับปรุงพัฒนากรรมวิธีการผลิตโดยเน้นการผลิตที่ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่มีสารเจือปนและไดรับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากสาธารณสุขจังหวัดเลย(อย.) การตลาดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ณ ที่ทำการกลุ่ม แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น